วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การดำเนินการโครงการ เมืองสมุนไพร “สกลนครมหานครแห่งพฤกษเวช บนฐานราก ประชารัฐ”


๑.      สถานการณ์ นโยบาย จังหวัด
รัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบาย ในการส่งเสริมการพัฒนา “พืชสมุนไพร” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับประชาชน  โดยตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๕๙  ลงวันที่ ๑๔ มกราคม  ๒๕๕๙ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการดำเนินการยกร่าง       แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔   ดังนั้น เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแผนแม่บทแห่งชาติฯ ไปสู่การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม  นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงมีนโยบายให้การสนับสนุน การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal  City) ใน ๔ จังหวัดในแต่ละภูมิภาคของประเทศ ประกอบด้วย จังหวัดปราจีนบุรี   เชียงราย  สุราษฏร์ธานี และสกลนคร  โดยนพ.สุริยะ ได้เข้าหารือแนวการดำเนินงานกับผู้ว่าราชการและหัวหน้าหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทั้ง ๔ จังหวัดด้วยตนเอง ในระหว่างเดือนเมษายนที่ผ่านมา
 ผจว.สกลนคร, รมว.กระทรวงสาธารณสุข, ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนพ.สสจ.สกลนคร ตามลำดับ ขณะเดินทางมาที่ จ.สกลนคร

จังหวัดสกลนครจึงได้จัดทำประกาศ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานเมืองสมุนไพร โดย ผู้ว่าราชการเป็นประธาน และมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสกล เป็นเลขาธิการ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมุนไพรอย่างครบถ้วนโดยเชื่อมโยงกับบริษัทประชารัฐ รักสามัคคี สกลนครจำกัด  ดังนั้นคณะทำงาน จึงประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนาให้จังหวัดสกลนคร มีความพร้อมและศักยภาพในการเป็นจังหวัดที่มีการดำเนินการจัดการด้านสมุนไพร เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัด ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ กล่าวคือ ให้มีการเพาะปลูกสมุนไพรอินทรีย์ปลอดสารเคมี การแปรรูป และการจัดจำหน่าย  โดยใช้คำแทน
การดำเนินงานว่า “สกลนคร มหาเวชนครแห่งพฤกษเวช บนฐานรากประชารัฐ”


๒.      ผลการพัฒนา
การร่วมมือกันในระดับหน่วยงานภายในจังหวัด เชื่อมโยงการทำงาน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งสถานการณ์ในปี 2559 พบว่า มีศักยภาพและสิ่งที่ได้ดำเนินงาน เป็นผลจากการพัฒนา แยกย่อยตามระดับได้ดังนี้
ระดับต้นน้ำ
๑.        เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ ในการสร้างรายได้จากสมุนไพร เกิดการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็น สหกรณ์สมุนไพรสกลนคร (สมาชิกจำนวน 265 คน)   เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายวัตถุดิบสมุนไพร เกิดการหมุนเวียนรายได้ 5 ล้านบาท ในปีที่หนึ่ง
๒.        เกิดเครือข่ายผู้ปลูกสมุนไพรอินทรีย์ ที่ผ่านมาตรฐาน GAP นำร่อง ทั้งจังหวัด จำนวน 80 แปลง
๓.      เกิดหลักสูตรการเรียนรู้สมุนไพรในระดับ ประถมและมัธยมศึกษา
ระดับกลางน้ำ
1.      โรงผลิตยาสมุนไพร รพ.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ผ่านมาตรฐาน GMP สามารถผลิตยาสมุนไพรจำหน่ายให้หน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐ ได้ทั่วประเทศ
2.      วิสาหกิจชุมชน ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากสมุนไพร เพิ่มมากขึ้น
3.      หน่วยงานอุดมศึกษาพัฒนางานวิจัย สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ สมุนไพรสกลนคร
ระดับปลายน้ำ
๑.      เข้าร่วมเพื่อพัฒนา บริษัท “ประชารัฐสกลนครจำกัด” ให้เป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สมุนไพร
๒.      นักท่องเที่ยว และหน่วยงานจากจังหวัดอื่นๆ เยี่ยมชมและศึกษาดูงาน พื้นที่ต้นแบบด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก


๓.      ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน
การร่วมมือกันในระดับหน่วยงานภายในจังหวัด เชื่อมโยงการทำงาน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งสถานการณ์ในปี 2559 พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน แยกย่อยตามระดับได้ดังนี้
ระดับต้นน้ำ
๑.      แหล่งปลูกสมุนไพรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับรอง GAP/ อินทรีย์
๒.        ขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการแปรรูปวัตถุดิบเบื้องต้น โรงตาก และโรงเก็บวัตถุดิบ
๓.      ขาดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด
๔.      ขาดภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรที่เข้มแข็ง
๕.      ประชาชนยังขาดการรับรู้ ตระหนัก และดูแลตนเองด้วยสมุนไพร
๖.      ขาดการรวบรวมองค์ความรู้ ด้านสมุนไพร
๗.      ขาดการรับซื้อ และขนส่งวัตถุดิบสมุนไพร ที่ชัดเจน
ระดับกลางน้ำ
๑.      ขาดงบประมาณเพื่อพัฒนา โรงงานผลิตยาสมุนไพร ผ่านมาตรฐาน GMP (PICs) ที่เป็นมาตรฐานหลักขององค์การสหประชาชาติ และ HALAL ของชาวมุสลิม
๒.      ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสมุนไพรจำนวนมากที่ไม่ผ่านมาตรฐาน มผช.
๓.      วิสาหกิจชุมชน และภาคเอกชน ขาดวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน
๔.      ขาดข้อมูลและระบบสารสนเทศด้านสมุนไพร ที่เข้าถึงได้ง่าย
๕.      ขาดงานวิจัยด้านสมุนไพรเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์
ระดับปลายน้ำ
๑.      ประชาชนในจังหวัดสกลนครมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าจังหวัดใกล้เคียง
๒.      การคมนาคม และการขนส่ง (Logistic) มีต้นทุนสูงและลำบากกว่าจังหวัดคู่แข่ง
๓.      จังหวัดสกลนครขาดการท่องเที่ยวหลัก ที่ดึงดูด เม็ดเงินและนักท่องเที่ยว
๔.      ขาดสินค้าแม่เหล็กด้านสมุนไพร
๕.      ประชาชนมีสุขภาวะที่ไม่ดี มีปัญหาโรคเรื้อรังที่มีผลมาจากการอุปโภค และบริโภค

๔.      แนวทางการพัฒนาต่อไป
การร่วมมือกันในระดับหน่วยงานภายในจังหวัด เชื่อมโยงการทำงาน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ กำหนดแนวทางการพัฒนาต่อไป แยกย่อยตามระดับได้ดังนี้
ระดับต้นน้ำ
๑.      พัฒนาแหล่งปลูกสมุนไพรต้นแบบผ่านมาตรฐาน GAP/ อินทรีย์
๒.        ส่งเสริม และพัฒนาองค์ความรู้ในการใช้ และผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ในการแปรรูปวัตถุดิบเบื้องต้น โรงตาก และโรงเก็บวัตถุดิบ
๓.      บูรณาความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสมุนไพรในการดูแลสุขภาพระดับจังหวัด
๔.      ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อการรับรู้ ตระหนัก และดูแลตนเองด้วยสมุนไพร
๕.      การรวบรวมองค์ความรู้ ด้านสมุนไพร
๖.      พัฒนายุทธศาสตร์การรับซื้อ และขนส่งวัตถุดิบสมุนไพร
ระดับกลางน้ำ
๑.      พัฒนา โรงงานผลิตยาสมุนไพร ผ่านมาตรฐาน GMP (PICs) ที่เป็นมาตรฐานหลักขององค์การสหประชาชาติ และ HALAL ของชาวมุสลิม
๒.      อบรมให้ความรู้เรื่อง การผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสมุนไพรเพื่อมาตรฐาน มผช.
๓.      ส่งเสริม และให้ความรู้แก่เกษตรกรในการพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน
๔.      พัฒนาระบบสารสนเทศด้านสมุนไพร ที่เข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย
๕.      สนับสนุนการพัฒนางานวิจัยด้านสมุนไพรเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์
ระดับปลายน้ำ
๑.      สร้างเครือข่ายและนัดหมายการขนส่ง (Logistic) มีลดต้นทุน
๒.      พัฒนาหมู่บ้านต้นแบบเรื่องสมุนไพร เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
๓.      สร้างสินค้าโปรดัคท์แชมป์เปี้ยนด้านสมุนไพร
๔.        ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชน เรื่องการดูแลตนเองด้วยสมุนไพร เพื่อลดปัญหาโรคเรื้อรังที่มีผลมาจากการอุปโภค และบริโภค